เป็นการนำเสนอผลการพยากรณ์ต้นทุนโลจิสติกส์ล่วงหน้าและการประเมินผลของแผนพัฒนา/โครงการต่อสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ โดยพิจารณาผลกระทบการประเมินแผนพัฒนา/โครงการโดยรวมทั้งสิ้น 91 โครงการ ที่ได้รับการคัดเลือกว่ามีความสอดคล้องกับตัวแปรในตัวแบบ ANN ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2566-2570

        การนำเสนอผลการพยากรณ์ต้นทุนโลจิสติกส์ล่วงหน้าและการประเมินผลของแผนพัฒนา/โครงการต่อสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 กรณีใหญ่ และ 4 กรณีย่อย ดังนี้

        1. กรณีไม่มีแผนพัฒนา/โครงการด้านโลจิสติกส์ เป็นการพยากรณ์สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ในอนาคตจากการพยากรณ์ตัวแปรนำเข้าในแบบจำลอง ANN โดยกำหนดให้ในอนาคต ตัวแปรนำเข้ามีการเติบโตตามปกติ (Baseline)

        2. กรณีมีแผนพัฒนา/โครงการด้านโลจิสติกส์ เป็นการพยากรณ์ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ในอนาคตจากการพยากรณ์ตัวแปรนำเข้าในแบบจำลอง ANN โดยกำหนดให้ในอนาคต ตัวแปรนำเข้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากการมีแผนพัฒนา/โครงการด้านโลจิสติกส์ โดยจะต้องมีการพิจารณากิจกรรมและเป้าประสงค์ของแผนพัฒนา/โครงการว่าส่งผลให้ตัวแปรนำเข้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร สามารถจำแนกเป็น 4 กรณีย่อย ดังนี้
        • กรณีที่แผนพัฒนา/โครงการสามารถดำเนินการไม่มีความล่าช้าและเล้วเสร็จสมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 100
        • กรณีที่แผนพัฒนา/โครงการเกิดความล่าช้าหรือแล้วเสร็จ คิดเป็นร้อยละ 75
        • กรณีที่แผนพัฒนา/โครงการเกิดความล่าช้าหรือแล้วเสร็จ คิดเป็นร้อยละ 50
        • กรณีที่แผนพัฒนา/โครงการเกิดความล่าช้าหรือแล้วเสร็จ คิดเป็นร้อยละ 25


NLC/GDP








TC/GDP








WIC/GDP








AC/GDP






Baseline